เลือกหน้า

เมื่อวานที่ผ่านมานี้ได้มีการส่งต่อคลิปในโลกออนไลน์กรณีที่ได้มีการปฐมพยาบาลผู้ป่วยจมน้ำท่านหนึ่งนะคะ ในคลิปจะเห็นได้อย่างชัดเจนนะคะ ว่าการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหรือ CPR ให้กับผู้ประสบเหตุอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ค่ะ ก่อนหน้านี้ นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการ สพฉ. ได้เคยออกมาให้ความรู้กับประชาชนทุกคนว่าควรเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดจากการจมน้ำค่ะ โดยวิธีเบื้องต้นมีดังนี้ค่ะ

1. เรียนรู้หลักในการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากน้ำที่ถูกต้อง

2. รู้จักอาการคับขัน และวิธีการร้องขอความช่วยเหลือเช่นการโบกมือขึ้นลงเหนือศีรษะให้คนอื่นรู้ว่ากำลังประสบภัย การตะโกน

3. รู้จักวิธีการลอยตัวอยู่ในน้ำ เช่น การฝึกลอยตัวโดยใช้ท่าแม่ชีลอยน้ำ คือลอยตัวแบบนอนหงาย ขาแขนเหยียดตรงเหมือนนอนอยู่บนที่นอน เงยหน้ายกคางเพื่อใช้ปากหายใจ โดยประชาชนจะต้องฝึกท่านี้ให้เป็นเพราะจะเป็นหนึ่งในท่าสำคัญที่จะทำให้เรามีชีวิตรอดจากการจมน้ำ และที่สำคัญคือต้องมีสติไม่ตกใจ

4.รู้จักวิธีการขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ด้วยการโทรแจ้งสายด่วน 1669

สำหรับประชาชนทั่วไปพี่พบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินจากการจมน้ำและต้องการเข้าให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้นผู้เข้าให้การช่วยเหลือจะต้องคำนึงถึงถึงความปลอดภัยตัวเองเป็นสำคัญก่อน เพราะบ่อยครั้งที่คนช่วยก็ได้รับอันตรายจากการช่วยเหลือด้วย โดยวิธีที่ถูกต้องในการช่วยคนขึ้นจากน้ำประกอบด้วยการ “ตะโกน โยน ยื่น”

อย่างแรกคือการ “ตะโกน” บอกให้คนตกน้ำอย่าตกใจ จากนั้นหาวัสดุลอยน้ำ “โยน” ให้ผู้ที่ตกน้ำเกาะพยุงตัว และ “ยื่น” อุปกรณ์ หรือหาสิ่งของให้ผู้ที่ตกน้ำจับเพื่อลากเข้าฝั่ง ไม่ควรกระโดดลงไปช่วย เพราะผู้ที่จมน้ำจะมีอาการตกใจ กอดรัด และทำให้จมน้ำไปด้วยกันทั้งคู่

ทั้งนี้เมื่อน้ำคนขึ้นมาจากน้ำได้แล้วนั้นให้รีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่สายด่วน 1669 และหากสังเกตว่าถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้กดนวดหัวใจและช่วยหายใจตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ ส่วนผู้ป่วยที่ยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง ศีรษะหงายไปข้างหลัง เพื่อเปิดทางเดินหายใจ ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้กินอาหารและดื่มน้ำทางปาก และสำหรับ
ที่สำคัญคืออย่าอุ้มผู้ป่วยพาดบ่าเพื่อทำการกระทุ้งให้น้ำออกมานะคะ เพราะการอุ้มพาดบ่าเพื่อกระทุ้งเอาน้ำออกนั้นนอกจากจะทำให้การช่วยฟื้นคืนชีพทำได้อย่างล่าช้าแล้วอาจทำให้เกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บเพิ่มเติมและทำให้ผู้ป่วยอาเจียนซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียหายตามมาในการช่วยกู้ฟื้นคืนชีพได้ด้วยค่ะ

ที่มา : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) EMIT_1669